ทำอย่างไรเมื่อท่อประปาแตกหรือรั่ว?
ปัญหานี้อาจจะดูซับซ้อนและอาศัยความชำนาญมากกว่ากรณีน้ำรั่วจากท่อหรืออุปกรณ์ประปาทั่วๆไป แต่จริงๆแล้วนี่ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของทุกคนเลยครับ หลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นช่างประปาหรือคนทั่วไปคงเคยประสบปัญหาท่อแตกทั้งภายในและนอกตัวบ้าน วิธีแก้ปัญหาท่อประปาแตกนั้นมีมากมายหลายวิธีตามแต่ลักษณะการแตก ไม่ว่าจะเป็นรอยเล็กเท่ารูเข็มจนถึงรอยแตกกว้างและยาว หรือจะเป็นประเภทของท่อประปาที่ใช้งาน เช่น ท่อพีวีซี ท่อHDPE ท่อPB ท่อปูน ท่อเหล็ก เป็นต้น ผมเลยจะขออธิบายวิธีการแก้ปัญหาท่อแตกเป็นกรณีๆดังต่อไปนี้เลยครับ
1.กรณีท่อPVC ขนาด1/2นิ้ว ถึง 2นิ้วเกิดรอยแตก
ในกรณีนี้เราสามารถแก้ได้โดยการใช้ “ยูเนียน พีวีซี” ซ่อมท่อที่แตกได้ ยูเนียนพีวีซีที่มีขายตามร้านทั่วไปมีอยู่หลักๆ คือ แบบสวม เช่น ยูเนียนพีวีซี ของบริษัทท่อน้ำไทย (รูปที่ 1) และแบบทากาวและแบบเกลียว (รูปที่ 2) ซึ่งในระยะหลังเริ่มเป็นที่นิยมเนื่องจากใช้งานง่ายและราคาถูก แต่กรณีซ่อมท่อนั้นเราจะต้องใช้ยูเนียนแบบสวม
รูปที่1 รูปที่2
วิธีใช้ ยูเนียนแบบสวม
1. ตัดท่อบริเวณที่แตกออกโดยเผื่อระยะให้สามารถใส่ยูเนียนเข้าไปได้
2. คลายเกลียวของยูเนียนทั้งสองข้างเล็กน้อย
3. สวมท่อเข้ายูเนียนโดยให้ปลายท่อพ้นขอบยางพอสมควร (เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดในกรณีท่อมีการสั่น)
4. ขันเกลียวทั้งสองข้างให้แน่น
หมายเหตุ: กรณีท่อพีวีซีแตกเป็นรอยยาวอาจต้องใช้ยูเนียนสองตัวและท่อที่มีความยาวเท่าๆกับรอยแตกเพื่อเชื่อมระหว่างยูเนียนสองตัว
2. กรณีท่อพีวีซีขนาดใหญ่แตก
สถานการณ์นี้อาจยุ่งยากและซับซ้อนกว่ากรณีข้างต้นเนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือมากกว่า หลายคนจึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างประปา กรณีนี้เราสามารถใช้อุปกรณ์ซ่อมท่อที่มีขายตามร้านอุปกรณ์ประปาที่เชี่ยวชาญด้านประปาโดยเฉพาะ
a. การใช้ ”ยีโบลต์” ซ่อมท่อ
ยีโบลท์ หรือจีโบลท์ (Gibault) เป็นข้อต่อที่ใช้สำหรับต่อท่อน้ำประปา ประกอบด้วยแหวนตัวกลาง สำหรับสวมตรงรอยต่อของท่อ 1 วง แหวนประกับแหวนตัวกลางทั้ง 2 ข้าง จำนวน 2 วง ซึ่งทำด้วยเหล็กหล่อ มีสกรูสำหรับยึดแหวนประกับ และมีแหวนยางกันน้ำรั่วซึม จำนวน 2 วง ซึ่งยีโบลต์สามารถแบ่งตามประเภทได้ตามประเภทของท่อที่นำมาซ่อมดังนี้ 1) ยีโบลต์ AC (เชื่อมท่อใยหิน) 2) ยีโบลต์ PVC (เชื่อมท่อ PVC) 3) ยีโบลต์ AC-PVC หรือยีโบลต์ลด (เชื่อมท่อใยหินกับท่อพีวีซี) โดยทั่วไปจะใช้ยีโบลต์ 2 ชุด เพื่อเชื่อมเศษท่อที่ใช้ทดแทนส่วนที่แตกก่อนที่จะนำไปเชื่อมกับท่อเส้นหลัก

source: www.iplex.com.au
b. การใช้ “รีแพร์” ซ่อมท่อ
รีแพร์ซ่อมท่อมีทั้งแบบที่ซ่อมท่อพีอีและซ่อมท่อพีวีซี มีขั้นตอนการใช้งานคล้ายคลึงกัน ดังนี้ (จากรูปเป็นวิธีการใช้รีแพร์กับท่อพีอี)
1. คลายน๊อตออกจากสลักเกลียว จากนั้นกางแค้มป์ออกแล้วนำมาครอบท่อตรงจุดบริเวณที่รั่ว โดยจัดให้สกรูน๊อตและแป้นยึดอยู่ด้านบนท่อ (ในกรณีที่ท่อขาดจากกันระยะห่างของปลายท่อทั้ฃสองไม่ควรเกิน 4 นิ้ว)

2. ประกบแป้นยึดกับบ่ารับเข้าด้วยกัน

3. ขันน๊อตทุกตัวของอุปกรณ์ซ่อมท่อให้แน่น
